อาหารกับอาการท้องอืด
อาหารอื่นๆ

อาหารกับอาการท้องอืด ทั้ง 5 ชนิด ที่เราควรหลีกเลี่ยงเป็นอย่างยิ่ง

อาหารเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมากสำหรับร่างกายมนุษย์ เพราะอาหารมีผลและสัมพันธ์กับร่างกายโดยตรงไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เช่น สุขภาพดี หรือก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนกระทั่งขนาดใหญ่โดยที่ไม่รู้ตัว เช่นเดียวกับเรื่องราวของ อาหารกับอาการท้องอืด อาหารก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่กระตุ้นให้เกิดอาการท้องอืดขึ้นได้โดยไม่คาดคิด แต่จะมีอาหารชนิดใดบ้างที่ทำให้ร่างกายเผชิญกับอาการท้องอืดเมื่อรับประทานเข้าไปมาดูกันเลย

5 อาหารกับ อาหารกับอาการท้องอืด ที่ควรหลีกเลี่ยง

หลายคนไม่ชอบและรับไม่ได้ที่หลังรับประทานอาหารแล้วพบว่าพุงป่องหรืออาการท้องอืด หากเผชิญกับภาวะเช่นนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาการท้องอืด หลังจากรับประทานอาหารต้องพิจารณาว่าอาหารที่รับประทานเข้าไปนั้นนำไปสู่อาการท้องอืดหรือไม่ หากไม่อยากเผชิญกับปัญหาท้องบวมอันเนื่องมาจากแก๊สในกระเพาะอาหารจำนวนมากและอาการท้องอืดที่ตามมา ควรหลีกเลี่ยง อาหารกับอาการท้องอืด ดังต่อไปนี้ที่บทความ เมนูอาหาร

1. บรอกโคลี กะหล่ำปลี คะน้า

อาหารกับอาการท้องอืด

            อาหารกับอาการท้องอืดเช่น บรอกโคลี กะหล่ำปลี คะน้า มีไฟเบอร์สูงช่วยเสริมสร้างระบบย่อยอาหารให้แข็งแรงและมีสุขภาพดีก็จริง แต่บรอกโคลี กะหล่ำปลี คะน้า มีราฟฟิโนส (raffinose) น้ำตาลชนิดหนึ่งที่จะยังไม่ย่อยจนกว่าจะทำปฏิกิริยาบางอย่างกับแบคทีเรียในลำไส้ ส่งผลให้เกิดแก๊สและท้องอืด ดังนั้นหากต้องการรับประทานแนะนำให้ปรุงสุกก่อนเสมอ เพื่อให้เส้นใยอาหารนิ่มลง ย่อยง่ายขึ้น ลดอาการท้องอืดลงได้

2. พืชตระกูลถั่ว

อาหารกับอาการท้องอืด

            เป็นอาหารกับอาการท้องอืดที่รับรู้กันว่าทำให้เกิดแก๊สในระบบทางเดินอาหารได้อง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถั่วเลนทิล ถั่วเหลือง และถั่วลันเตา เป็นต้น ถั่วเหล่านี้มีโปรตีนสูง มีน้ำตาลและเส้นใยอาหารที่ร่างกายไม่สามารถดูดซึมได้ เมื่อกินถั่วผ่านเข้าไปลำไส้ใหญ่ แบคทีเรียในลำไส้จะทำปฏิกิริยากับถั่ว ทำให้เกิดแก๊สและนำไปสู่อาการท้องอืดได้ในที่สุด

3. ผลิตภัณฑ์นม

อาหารกับอาการท้องอืด

            แลคโตสในน้ำนมส่งผลให้ท้องอืดได้เช่นกัน เมื่อร่างกายขาดเอนไซม์ในการย่อยแลคโตสซึ่งเป็นน้ำตาลในนม ก็จะทำให้เกิดแก๊สในระบบทางเดินอาหารส่งผลให้มีอาการท้องอืด ด้วยเหตุนี้เมื่อรับประทานชีส หรือผลิตภัณฑ์จากนมแล้วมีอาการท้องไส้ปั่นป่วน เวียนหัว รู้สึกอยากอาเจียน แสดงว่าร่างกายมีปัญหาเกี่ยวกับการย่อยแลคโตสก็เป็นได้ ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์นมหากไม่อยากเผชิญกับอาการท้องอืด

4. แอปเปิ้ล

แอปเปิ้ล

แทบไม่น่าเชื่อว่าแอปเปิ้ลจะเป็นหนึ่งในอาหารกับอาการท้องอืดเพราะแอปเปิ้ลดีและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ และระบบทางเดินหายใจ โรคหอบหืด หลอดลมอักเสบ ถุงลมโป่งพอง แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ควรรับประทานมากจนเกินไป และควรทานแยกจากมื้ออาหาร เพื่อป้องกันอาการท้องอืด

5. อาหารรสเค็ม

อาหารรสเค็ม

            อาหารกับอาการท้องอืดชนิดสุดท้าย ไม่ได้มีผลต่อการทำงานของไตและความดันโลหิตเท่านั้น แต่อาหารรสเค็มโซเดียมสูงยังทำให้เกิดอาการท้องอืดได้เช่นกัน แม้เป็นเรื่องยากที่เราจะหลีกเลี่ยงอาหารโซเดียมสูงรสเค็ม แต่เมื่อใดก็ตามที่เรารับประทานอาหารโซเดียมสูงให้ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อช่วยขับเกลือออกจากร่างกาย

Related Posts